วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมุนไพรถอนพิษพุดตาน

กลุ่มพืชถอนพิษ

พุดตาน




ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Hibiscus mutabilis  L.

ชื่อสามัญ :  Cotton rose, Confederate rose

วงศ์ :   Malvaceae

ชื่ออื่น :  ดอกสามสี  สามผิว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร  ต้นและกิ่งมีขนสีเทา  ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม  ขอบใบเว้าลึก มี 3- 5 แฉก  ใบมีขนสาก  ดอก  ซ้อนใหญ่งามมาก แรกบานมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง  ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  มีริ้วประดับ 7- 10 อัน  ผล กลม  เมื่อแก่แตกเป็น 5 แฉก  เมล็ด รูปไต มีขน ออกดอกตลอดปี
ส่วนที่ใช้ : ใบสด หรือใบตากแห้ง ดอก เก็บดอกตอนเริ่มบานเต็มที่ รากเก็บได้ตลอดปี ตากแห้งหรือใช้สดก็ได้

สรรพคุณ :

ยารักษาคางทูม

ยาถอนพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลมีหนอง

ยาแก้งูสวัด

วิธีและปริมาณที่ใช้

ยารักษาคางทูม
- ใช้ใบแห้ง 10-15 ใบ บดให้ละเอียด เติมไข่ขาวผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น นำไปพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม
- ใช้ดอก อย่างแห้ง หนัก 3-12 กรัม ใบสด 30-40 กรัม ต้มน้ำรับประทาน ใช้ภายนอก บดเป็นผงผสม หรือใช้สดตำพอก

ยาดถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง
- ใช้ใบสด 3-4 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำมันพืช ใช้ทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลมีหนอง

ยาแก้งูสวัด
- ใช้ใบสด 4-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำซาวข้าว ใช้ทาบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ
- รากใช้เป็นยาทาภายนอก ตำพอกหรือบดเป็นผงผสมพอก

สารเคมี

ใบ มี Flavonoid glycosides , phenol, amino acid, tannin

ดอก มี  Flavonoid glycosides
 Flavonoid glycosides จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกไม้เมื่อบานเต็มที่ สีแดงจะมี anthocyanin ในตอนที่ดอกมีสีแดงเข้ม จะมีปริมาณของ  anthocyanin เป็น 3 เท่าของตอนที่มีดอกเป็นสีชมพู

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมุนไพรถอนพิษผักบุ้งทะเล

กลุ่มพืชถอนพิษ

ผักบุ้งทะเล

 







ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Ipomoea pes-caprae ( L.) R.br.

ชื่อสามัญ :   Goat's Foot Creeper, Beach Morning Glory

วงศ์ :   Convolvulaceae

ชื่ออื่น :  ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เลื้อยล้มลุก เลื้อยไปตามผิวทรายหรือดิน ชอบขึ้นในพื้นที่ใกล้ทะเล ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้าง โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึก ดอก ช่อ มี 4-6 ดอก กลีบดอกสีชมพูอมม่วง กลีบดอกติดกันปลายบานคล้ายปากแตร ดอกบานตอนเช้า บ่ายๆ จะหุบเหี่ยว ผล เป็นผลแห้งแตกได้
ส่วนที่ใช้ :  ใบ รากสด ทั้งต้น เมล็ด

สรรพคุณ :

ใบสด  -   เป็นยาพอก ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดไขข้อบวมอักเสบมีหนอง

รากสด - ขับปัสสาวะในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้โรคเท้าช้าง ปวดฟัน ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง

ทั้งต้น - แก้อาการอักเสบจากพิษแมงกระพรุนไฟ ถอนพิษลมเพลมพัด ต้มอาบแก้โรคคันตามผิวหนัง

เมล็ด - ป้องกันโรคตะคริว

วิธีและปริมาณที่ใช้

แก้พิษแมงกระพรุนไฟ แก้แพ้พิษต่างๆ
- ใช้ใบโขลก พอก ถอนพิษ
- ใช้รากสด 1 ราก นำมาฝนกับน้ำฝนให้ข้นๆ อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วยจะได้ผลดี ใช้ทาบ่อยๆ

สารเคมี

ใบ พบ Fumaric acid, Succinic acid, Citric acid, Maleic acid, Curcumene, Ergotamine

ลำต้นเหนือดิน พบ Behenic acid, Benzoic acid, Butyric acid, Essential Oil, Potassium Chloride, Myristic acid, Sodium chloride, ß-Sitosterol

ทั้งต้น พบ Citric acid, Fumaric acid, Hyperoside, Malic acid, Isoquercitrin, Succinic acid, Tartaric acid

เมล็ด พบ Dehydrocacalohastine, Cacalol methyl ether, Ergotamine, Matorin, Matorin acetate

สมุนไพรถอนพิษเทียนบ้าน

กลุ่มพืชถอนพิษ

เทียนบ้าน







 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Impatiens balsamina  L.

ชื่อสามัญ :   Garden Balsam

วงศ์ :   BALSAMINACEAE

ชื่ออื่น :  เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสูง 30-80 ซม. ลำต้นอวบน้ำและค่อนข้างโปร่งแสง ออกดอกออกผลแล้วต้นจะตาย ใบเดี่ยวเรียงสลับรอบลำต้น รูปวงรี ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกมีสีชมพู แดง ม่วง ขาว ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่จัดจะแตกออก เปลือกผลม้วนขมวดขึ้น และดีดเมล็ดที่ค่อนข้างกลมสีน้ำตาลออกมา เพื่อช่วยกระจายพันธุ์
ส่วนที่ใช้ :  ใบทั้งสดและแห้ง ยอดสด ต้นและรากสด เมล็ดแห้ง
สรรพคุณ :
ใบสด แก้ปวดข้อ ยารักษากลากเกลื้อน แก้ฝีและแผลพุพอง ยากันเล็บถอด
ใบแห้ง แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย รักษาแผลเรื้อรัง
ยอดสด แก้จมูกอักเสบ บวมแดง
ต้นสด แก้แผลงูสวัด
รากสด แก้บวมน้ำ ตำพอกแผลที่ถูกเสี้ยนหรือแก้วตำ
เมล็ดแห้ง แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน
ขนาดและวิธีใช้
          -แก้ปวดข้อ ใช้ใบสดต้มกับน้ำผสมเหล้าดื่ม
          - ยารักษากลากเกลื้อน ใช้ใบสด 1 กำมือ ตำให้ละเอียด ตำทั้งน้ำและเนื้อบริเวณที่เป็น ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
          - แก้ฝีและแผลพุพอง ใช้ใบสด 5-10 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกที่เป็นแผล วันละ 3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
          - ยากันเล็บถอด ใช้ใบ ยอดสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด เติมน้ำตาลทรายแดง 1/2 ช้อนชา พอกตรงเล็บ เปลี่ยนยาเช้า-เย็น
          - แก้แผลอักเสบ ฝีหนอง แผลเน่าเปื่อย  ใช้ใบแห้ง 10- 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม เช้า-เย็น
          - รักษาแผลเรื้อรัง ใช้ใบแห้งบดเป็นผงผสมพิมเสนใส่แผล
          - แก้จมูกอักเสบ บวมแดง ใช้ยอดสดตำกับน้ำตาลแดง พอกบริเวณที่เป็น เปลี่ยนเช้า-เย็น
          - แก้แผลงูสวัด ใช้ต้นสดตำ คั้นเอาน้ำดื่ม เอากากพอกแผล
          - แก้บวมน้ำ ใช้รากสด 4-5 ราก ต้มกับเนื้อรับประทาน 3-4 ครั้ง
          - แก้ประจำเดือนไม่มา ขับประจำเดือน ใช้เมล็ดแห้งของต้นเทียนบ้านชนิดดอกสีขาว 60 กรัม บดเป็นผงรวมกับตังกุย 10 กรัม ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาเม็ด รับประทานครั้งละ 3 กรัม วันละ 3 เวลา หลังอาหาร